เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการสำรวจ

เครื่องมือสำรวจมีหลายอย่าง การเลือกใช้เครื่องมือชนิดใด ขึ้นอยู่กับความละเอียดในการวัด ความสะดวกในการใช้งาน การประหยัดในการใช้งานทั้งแรงงาน ทุนและเวลาในการทางาน เครื่องมือสารวจที่ควรทราบได้แก่

1.เทปวัดระยะ (Tape) หรือโซ่ (Chain)

  • เทปวัดระยะ อาจทาด้วยโลหะ ผ้าหรือในล่อนจะมีเครื่องหมาย ตัวเลขกากับบอกระยะความยาวเป็นมิลลิเมตร เซนติเมตรและเป็นเมตร อีกด้านจะมีเครื่องหมาย ตัวเลขกากับบอกระยะความยาวเป็นหุน นิ้วและฟุต
  • โซ่ ในประเทศไทยการรังวัดที่ดินของสานักงานที่ดินยังคงมีการใช้โซ่รังวัดระยะทางอยู่ โดยโซ่ 1 เส้นจะมี 100 ข้อในแต่ละข้อจะมี 10 ปอยท์ ใน 1 ปอยท์จะมี 10 ปวน เช่นวัดระยะทางได้ 2 เส้นโซ่ กับอีก 23 ข้อ 9 ปอยท์ และ 5 ปวน สามารถเขียนเป็นระยะทางมีความยาว เท่ากับ 2.2395 เส้น ซึ่ง 1 เส้นโซ่ เมื่อเทียบเป็นระยะในระบบเมตริกจะยาว 40 เมตร ดังนั้น 2.2395 เส้น จึงเท่ากับ 2.2395 เส้น  40 เมตร/เส้น ได้ระยะทาง = 89.580 เมตร

2. กล้องเข็มทิศ (Compass)

เป็นเครื่องมือสารวจที่ใช้สาหรับวัดมุมเบี่ยงเบนจากแนวทิศเหนือ-ใต้แม่เหล็ก มีจานองศาราบ ที่เล็งแนว กล้องขยายสาหรับส่องเล็งแนวและหลอดระดับสาหรับปรับตั้งกล้องให้ได้ระดับเมื่อติดตั้งประกอบกับขาตั้งกล้องเข็มทิศ ใช้ในการเล็งแนวรังวัดค่ามุมราบในงานวงรอบต่าง ๆ มักใช้กับงานที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก ใช้ในการวางแนวในระยะทางใกล้ ๆ ขอบเขตพื้นที่สารวจขนาดเล็ก

การใช้งานจะใช้อ่านค่ามุมราบที่อ้างอิงจากแนวทิศเหนือแม่เหล็กโดยหมุนกล้องเข็มทิศตามเข็มนาฬิกาเสมอจะได้ค่ามุมภาคทิศ (Azimuth) แต่ถ้าอ่านค่ามุมราบอ้างอิงจากแนวทิศเหนือและทิศใต้โดยหมุนกล้องเข็มทิศ ตามหรือทวนเข็มนาฬิกาจะได้มุมทิศ (Bearing)

เข็มทิศและกล้องเข็มทิศ

3. กล้องระดับ (Level)

เป็นเครื่องมือที่ใช้กับงานหาระดับความสูงต่าของจุดต่าง ๆ ว่าจะมีความสูง-ต่าแตกต่างกันมากน้อยเท่าไร ซึ่งมีอยู่หลายรุ่นบางรุ่นจะมีจานองศาราบติดอยู่ด้วยจึงสามารถนามาใช้รังวัดมุมราบ วางแนว และหาค่าระยะทางโดยประมาณได้ แต่ไม่นิยมใช้กันเนื่องจากมีความคลาดเคลื่อนมากในการอ่านมุม จึงนิยมใช้กล้องระดับสารวจหาค่าความสูงของจุดที่ต้องการ หรือใช้กล้องระดับเพื่อกาหนดให้ค่าระดับความสูงในการก่อสร้างให้เป็นไปตามรูปแบบรายการที่กาหนดไว้ในแบบก่อสร้างต่าง ๆ เช่น การทาหมุดหลักฐานการระดับ การหาเส้นชั้นความสูง การหาค่าระดับตามยาว (Profile) และตามขวาง (Cross section) การให้ระดับผิวทาง (Grade line) ให้ระดับและกาหนดระดับ หลุม ระดับท้องคลองส่งน้า เป็นต้น ซึ่งกล้องระดับมีหลากหลายแบบ หลากหลายรุ่น

กล้องระดับ

4. กล้องวัดมุม (Theodolite)

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรังวัดมุมราบ มุมดิ่ง และสามารถใช้ในการรังวัดระยะทางราบ หาระยะทางดิ่ง หรือความสูงของวัตถุได้ นอกจากนั้นยังสามารถใช้ในการวางแนว หาค่าระดับต่างๆในการก่อสร้างได้อีกด้วย การใช้งานกล้องวัดมุมจึงมีมากกว่ากล้องระดับ โดยมีจานองศาที่รังวัดได้ทั้งมุมราบและมุมดิ่ง เมื่อติดตั้งเข็มทิศประกอบสามารถรังวัดค่ามุมทิศ และมุมภาคทิศได้ กล้องวัดมุมมีหลายชนิด หลายรุ่น มีความละเอียดหลายระดับ มีราคาสูง ผู้สารวจที่นากล้องชนิดนี้ไปใช้งานจึงต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ใช้ให้เหมาะกับประเภทของงานว่างานนั้น ๆ ต้องการความละเอียดมากน้อยเพียงใด กล้องวัดมุมชนิดต่างๆ

กล้องวัดมุมชนิดต่างๆ


แสดงกล้องวัดมุมประมวลผล (Total Station) และ Prism

5. โต๊ะสารวจ หรือโต๊ะแผนที่ (Plane Table)

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสารวจทาแผนผังที่ไม่ต้องบันทึกข้อมูลในสมุดสนาม เมื่อทาการสารวจรังวัดเสร็จสิ้นจะได้แผนผังของพื้นที่สารวจไปพร้อมกัน โต๊ะสารวจจึงเป็นโต๊ะเขียนแบบแผนผังพื้นที่สารวจ มีขาตั้งสามารถถอดพับเก็บได้เพื่อความสะดวกในการใช้งานในสนาม การใช้งานจะใช้คู่กับกล้องเล็ง หรือบรรทัดเล็ง(Alidade) ในการส่องเล็งเก็บข้อมูลในสนาม เหมาะกับการสารวจทาแผนผัง แผนที่ในบริเวณเล็ก ๆ พื้นที่ราบ โล่งไม่ปิดบังแนวเล็ง และไม่ต้องการความละเอียดมากนัก

โต๊ะสารวจ หรือโต๊ะแผนที่ (Plane Table)

6. เครื่องวัดระยะทางด้วยคลื่นแสง (Electronic Distance Measurement : EDM)

เป็นเครื่องมือวัดระยะทางที่มีความละเอียดสูงมากสามารถอ่านได้ถึงเศษของมิลลิเมตร มักใช้กับงานทาวงรอบ งานโครงข่ายสามเหลี่ยม มีราคาแพงจึงมักจะมีใช้กับหน่วยงานบางหน่วยงานเท่านั้น

7. ซับเทนส์บาร์ (Subtense Bar)

เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวัดระยะทางอ้อม จะใช้ร่วมกับกล้องวัดมุม ลักษณะประกอบด้วยแท่งโลหะยาว 2 เมตร โดยวัดจากจุดกึ่งกลางออกไปข้างละ 1 เมตร ที่ปลายแขนทั้งสองข้างจะมีที่หมายเล็ง เพื่อใช้อ่านมุมสาหรับหาระยะทางโดยการคานวณจากสมการต่อไปนี้


8. กล้องมองดูภาพถ่ายทางอากาศ

ใช้กับงานในสานักงานมีอยู่ 2 ชนิดคือ ชนิดกระเป๋าและชนิดตั้งโต๊ะ ใช้ในการส่องดูภาพถ่ายทางอากาศ เพื่อต้องการหาข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งกล้องชนิดอื่นจะมองดูไม่เห็น

กล้องมองดูภาพถ่ายทางอากาศ (Mirror Stereoscope)

9. เครื่องมือหาพื้นที่ (Planimeter)

เป็นเครื่องมือที่ใช้สาหรับหาพื้นที่บริเวณซึ่งมีรูปร่าง สัดส่วนที่ไม่สามารถจะคานวณได้ด้วยหลักเรขาคณิต ใช้เครื่องมือหาพื้นที่บนระนาบราบที่มีเส้นรอบรูปเป็นเส้นตรง หรือเส้นคดโค้ง โดยการลากหมุดของเครื่องมือไปตามเส้นรอบรูปที่อยู่ในแผนผัง หรือแผนที่ที่เราต้องการหาพื้นที่ แล้วนาค่าที่ได้จากเครื่องมือไปใช้ในการคานวณหาขนาดของพื้นที่ที่ต้องการหาได้ Planimeter มีแบบที่เป็นมาตรวัดและแบบลิจิตอลซึ่งแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ ชนิดแขนปรับได้ (Movable arm หรือ Adjustable arm) กับชนิดแขนปรับไม่ได้ (Fixed arm)


เครื่องมือหาพื้นที่(Planimeter)

10. เครื่องมือหาพิกัดแผนที่ (Global Positioning System : GPS)

เป็นเครื่องมือที่นามาใช้ในงานสารวจที่สามารถใช้งานได้ทุกสภาวะอากาศ สามารถใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งระบบ GPS มีส่วนประกอบ 3 ส่วนด้วยกันคือ ส่วนอวกาศที่มีดาวเทียมเป็นตัวส่งสัญญาณให้กับส่วนควบคุม เพื่อส่งข้อมูลให้กับส่วนผู้ใช้งานที่มีเครื่องรับสัญญาณ โดยได้มีการนามาใช้งานสารวจทาแผนที่ที่ให้ค่าความถูกต้องเป็นเซนติเมตรจึงมีความละเอียดสูง สามารถใช้งานสารวจเก็บข้อมูลได้รวดเร็วแล้วนาข้อมูลมาประมวลผลด้วย Software เฉพาะของเครื่องมือและระบบ สามารถอ่านค่าพิกัดแผนที่และแสดงผลได้ทันที ซึ่งเครื่องรับส่งสัญญาณ GPS

เครื่องมือหาพิกัดแผนที่(GPS)

11. อุปกรณ์ที่ใช้ในงานสารวจ ประกอบด้วย

  • หลักเล็งแนว (Ranging Pole) จะทาด้วยไม้หรือโลหะก็ได้ มีปลายข้างหนึ่งแหลม b มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว ขนาดยาว 2-3 เมตรเป็นเส้นตรงไม่คดงอ ทาสีขาว-แดงสลับกันเป็นช่วง ๆ ละ 50 เซนติเมตร ใช้สาหรับเล็งแนวรังวัดระยะให้เป็นเส้นตรง หรือใช้สาหรับปักเป็นเป้าเล็งแนวได้
  • ห่วงคะแนน (Pin) เป็นเหล็กปลายแหลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1/4 นิ้ว หรือประมาณ 6 มิลลิเมตร มีความยาวตั้งแต่ 40-70 เซนติเมตร ปลายอีกข้างหนึ่งขดงอเป็นวงกลม ทาสีขาว-แดงสลับกัน ใช้สาหรับหมายระยะในการรังวัดระยะด้วยเทป หรือโซ่เมื่อถึงจุดที่ต้องการวัด จุดแบ่งระยะของสายวัด หรือจุดสิ้นสุดในการวัด นอกจากนั้นยังใช้สาหรับล่อแนวเล็งในการวัดระยะได้อีกด้วย

เหล็กเล็งแนว และห่วงคะแนน

  • หลักหมุด (Stake) อาจทาด้วยไม้หรือโลหะก็ได้ ถ้าเป็นไม้ควรใช้ไม้เนื้อแข็ง หลักหมุดจะมีขนาด 1 นิ้ว  1 นิ้ว ยาว 6-8 นิ้ว ใช้เป็นหมุดสาหรับตอกกาหนดจุดต่าง ๆ โดยจะตอกไว้ในดินพร้อมกับทาเครื่องหมายเอาไว้ให้เห็นเด่นชัด
  • ไม้วัดระดับ (Staff หรือ Rod) จะทาด้วยไม้ที่อบแห้ง เพื่อป้องกันการยืดหดตัวให้น้อยที่สุดหรือทาด้วยโลหะซึ่งจะมีการยืดหดตัวน้อยที่สุด มีไว้สาหรับงานที่ต้องการความละเอียด แม่นยาสูง ภายในไม้ระดับจะถูกแบ่งออกเป็นช่วง ๆ ละ 1 เมตรที่ทาสีสลับดา-แดง หรือสลับขาว-แดง หรือสลับขาว-ดา ในแต่ละช่วงจะถูกแบ่งออกเป็นช่อง ๆ ละ 10 เซนติเมตรโดยมีตัวเลขกากับบอกเป็นระยะ โดยในแต่ละช่องจะถูกแบ่งครึ่งเป็นครึ่งที่สีต่อเนื่องกันกับครึ่งที่สีไม่ต่อเนื่องกันครึ่งละ 5 เซนติเมตรในแต่ละครึ่งจะถูกแบ่งออกเป็นแถบ ๆ ละ 1 เซนติเมตร ไม้ระดับจะมีความยาวไม่เกิน 5 เมตร ที่ด้านหลังจะมีมือจับและลูกน้าฟองกลมบอกระดับในแนวดิ่งเวลาจับตั้งไม้ระดับ โดยทั่วไปไม้ระดับจะมีชนิดพับได้ หรือชนิดเลื่อนเข้า-ออก เพื่อความสะดวกในการใช้งานและเก็บรักษา หรือขนย้าย ซึ่งจะใช้ร่วมกับกล้องระดับ หรือกล้องวัดมุม

ไม้วัดระดับ (Staff)

  • เป้าเล็ง จะใช้ร่วมกับกล้องแบบต่าง ๆ เพื่อให้เป็นที่หมายเล็งให้เห็นเด่นชัดขึ้นเมื่อส่องกล้องอ่านค่าต่าง ๆค้อนปอนด์ (Pound hammer) มีลักษณะเหมือนกับค้อนทั่วไป ทาด้วยโลหะมีไว้สาหรับตอกหมุด หรือตอกตะปูสาหรับทาเครื่องหมายในการสารวจ
  • ลูกดิ่ง (Plumb Bobs) ส่วนมากทาด้วยโลหะมีปลายข้างหนึ่งแหลม ตรงขั้วด้านบนจะเจาะรูปสาหรับร้อยเส้นด้ายหรือเชือกเอ็น ใช้สาหรับทิ้งดิ่ง หรือระยะในแนวดิ่ง เพื่อให้ ตาแหน่งตรงกับตาแน่งที่กาหนด
  • เครื่องมือเขียนแบบ ใช้สาหรับเขียนแบบขนาด รูปร่าง สัดส่วน จากข้อมูลที่ได้จากการสารวจในสนาม เพื่อเขียนข้อเท็จจริงให้ถูกต้องตามความต้องการ

12. การใช้ และวิธีการเก็บรักษาเครื่องมือสารวจ

ในการสารวจรังวัด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลถือว่าเป็นสิ่งจาเป็นอย่างยิ่งที่นักสารวจต้องตระหนักและระลึกอยู่เสมอว่า “เครื่องมือสารวจเป็นหัวใจของการสารวจ” แม้ว่าจะเป็นนักสารวจที่เก่งกาจเชี่ยวชาญแค่ไหน แต่ถ้าขาดเครื่องมือที่จะใช้เก็บรวบรวมข้อมูล หรือถึงจะมีเครื่องมือแต่เครื่องมือเหล่านั้นไม่สมบูรณ์ ไม่พร้อมที่จะใช้งาน มีความคลาดเคลื่อนในการรังวัดการทางานสารวจนั้นๆจะไม่ประสบผลสาเร็จลงได้ นอกจากนั้นเครื่องมือสารวจยังเป็นเครื่องมือเฉพาะอาชีพ มีราคาสูง ไม่ใช่มีจาหน่ายโดยทั่วไปในท้องตลาด ถ้าเกิดการชารุด เสียหาย หรือสูญหายย่อมก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในสนาม ดังนั้นการนาเครื่องมือสารวจออกไปใช้งานอย่างระมัดระวัง ถนอม ทานุบารุง ดูแล เก็บรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดมีอายุการใช้งานที่ยาวนานจะทาให้เกิดการคุ้มค่าต่อการลงทุน ซึ่งวิธีการใช้และการเก็บรักษาเครื่องมือสารวจสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

  • การยก การถือเครื่องมือ ควรกระทาด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเอาเครื่องมือออกจากกล่อง หรือหีบห่อที่ใช้บรรจุ เพราะเครื่องมือไม่มีเกราะป้องกันอันตราย และต้องปิดเก็บกล่องเครื่องมือให้สนิททันทีเพื่อป้องกันความชื้น หรือสิ่งไม่พึงประสงค์เข้าไปในกล่องเครื่องมืออันจะทาให้เครื่องมือเกิดความเสียหาย และสัมผัสกับความชื้นภายนอกได้
  • การติดตั้งเครื่องมือ ต้องปักยึดขาตั้งให้มั่นคงเรียบร้อยเสียก่อน แล้วจึงนาเครื่องมือเข้าประกอบติดตั้งกับขาตั้ง
  • การขนย้ายเครื่องมือ เวลาจะขนย้ายเครื่องมือจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ต้องรัดขาตั้งให้เรียบร้อย ในกรณีที่ไม่ถอดเครื่องมือออกจากขาตั้งต้องยึดตัวเครื่องมือให้แน่น รัดขาตั้ง แล้วยกขาตั้งแบกขึ้นใส่บ่าให้ตัวเครื่องมืออยู่ข้างหน้าคนแบก ใช้มือข้างหนึ่งจับประคองเครื่องมือไว้ แต่ถ้าเคลื่อนย้ายไม่ไกลมากนัก อาจใช้มือจับขาตั้งเอาแขนรัดขาตั้งแนบเข้าข้างลาตัวบริเวณใต้รักแร้ส่วนอีกมือจับประคองเครื่องมือหันไปข้างหน้าเอาไว้ในขณะขนย้าย
  • การกาหนดจุดตั้งเครื่องมือ ไม่ตั้งเครื่องมือในจุด หรือบริเวณที่จะทาให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย แต่ถ้ามีความจาเป็นจริง ๆ จะต้องคอยยืนเฝ้าเครื่องมืออย่างใกล้ชิดตลอดเวลา และกางร่มเอาไว้เพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจน เช่นบนทางเดิน บนถนน หรือในบริเวณพื้นที่ก่อสร้างต่าง ๆ โดยเลือกตั้งเครื่องมือในบริเวณที่มีดินแข็งพอที่จะรับน้าหนักได้ ไม่ควรตั้งในพื้นหิน คอนกรีต หรือพื้นที่เป็นดินเลน ยกเว้นมีฐานรองรับบังคับขาตั้งเครื่องมือไว้
  • การตั้งขาเครื่องมือ ไม่ควรตั้งขาเครื่องมือกว้าง หรือแคบจนเกินไป อันเป็นสาเหตุให้เครื่องมือทรุดหรือล้มได้ในขณะปฏิบัติงาน การปักขาตั้งเครื่องมือต้องกดขาตั้งลงพื้นไปตามแนวความลาดของขาตั้งโดยออกแรงพอประมาณ ไม่กดขาตั้งลงพื้นไปในแนวดิ่งจะทาให้ขาตั้งหักได้
  • การยืนในการปฏิบัติงาน ไม่ยืนคร่อมขาตั้งเครื่องมือ ต้องยืนอยู่ตรงบริเวณช่องว่างระหว่างขาตั้งเครื่องมือเท่านั้น ไม่ยืนเกาะขาตั้งหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของเครื่องมือโดยที่ไม่จาเป็น ให้จับหรือแตะต้องเฉพาะส่วนที่จะใช้งานเท่านั้น
  • การหมุนปรับตั้งขณะใช้งานเครื่องมือ ไม่หมุนหรือคลายสกรู เพื่อปรับตั้งส่วนต่าง ๆของขาตั้งในขณะปฏิบัติงานอยู่ให้แน่นจนเกินไปจะทาให้คลายสกรูลาบากหรือคลายไม่ออก เป็นเหตุทาให้เกลียวของสกรูเสีย ในการหมุนปรับตั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องมือจะต้องหมุนปรับด้วยความระมัดระวังเป็นที่สุด โดยยึดถือหลักที่ว่า “หมุนปรับตั้งด้วยความระวังหนักแน่นแต่นิ่มนวล”
  • การใช้เครื่องมือวัดระยะ ไม่ดึงด้วยแรงที่มากเกินไปจะทาให้เครื่องมือยืด หรือขาดเสียหายได้ ควรออกแรงดึงด้วยแรงที่กาหนดตามคู่มือการใช้เครื่องมือวัดระยะชนิดนั้น ๆ
  • การใช้เข็มทิศ เมื่อเลิกใช้งานแล้วต้องหมุนล็อคเข็มทิศในแนว 00˚ เสมอ และไม่ควรหมุนสกรูล็อคให้แน่นเกินไปจะทาให้เข็มทิศเสียหายได้
  • การใช้กล้องระดับ กล้องวัดมุม เมื่อเลิกใช้งานแล้วต้องตรวจดูสภาพของกล้องให้อยู่ในสภาพเดิม และชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ อยู่ในตาแหน่งปกติพร้อมที่จะใช้งานได้ทันทีในครั้งต่อไปโดยในขณะที่มีหมอก ไอน้า หรือมีละอองฝนห้ามนากล้องออกจากกล่องโดยเด็ดขาด เพราะจะทาให้ความชื้นเข้าไปเกาะภายในเลนส์และจานองศา ทาให้เกิดสนิมและเป็นราเกาะอยู่ภายในไม่สามารถใช้งานได้ต่อไป
  • การบารุงรักษาเครื่องมือ เมื่อเลิกใช้งานแล้วต้องทาความสะอาดเครื่องมือทุกครั้งให้อยู่ในสภาพสะอาด เรียบร้อยไม่ให้เปรอะเปื้อนดิน โคลน หรือเปียกน้า ต้องเช็ดทาความสะอาดให้แห้งสนิท มีการหยอดน้ามันหล่อลื่นเฉพาะเครื่องมือนั้น ๆ ในบางชิ้นส่วนของเครื่องมือเพื่อป้องกันสนิมและเชื้อรา
  • การเช็ดเลนส์ ให้ใช้แปรงขนอ่อนปัดฝุ่นทาความสะอาดแล้วใช้ผ้าสาหรับเช็ดเลนส์โดยเฉพาะทาความสะอาดเลนส์ก่อนเก็บเครื่องมือเข้ากล่องหรือหีบห่อ ห้ามใช้มือหรือผ้าที่ไม่สะอาดเช็ดเลนส์โดยเด็ดขาด
  • การเก็บเครื่องมือ ต้องเก็บเครื่องมือในห้องหรือสถานที่ที่ไม่มีความชื้นภายในอากาศมาก ควรเก็บในห้องที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้จะเป็นการดีที่สุด และควรเปิดกล่องหรือหีบห่อเพื่อผึ่งแดดเป็นบางครั้งในกรณีที่เก็บเครื่องมือเป็นเวลานาน ๆ โดยที่ไม่ได้เปิดออกมาใช้งาน
  • การขนย้ายเครื่องมือ เมื่อเลิกปฏิบัติงานแล้วควรขนย้ายเครื่องมือด้วยความระมัด ระวัง ไม่ให้กระทบกระเทือนหรือสั่นสะเทือนตกหล่นกระแทกเป็นอันขาด ควรทะนุถนอมรักษาเครื่องมือให้ดีในขณะขนย้าย
13. คุณสมบัติประจาตัวของนักสารวจที่ดี

งานสารวจรังวัดไม่สามารถทางานคนเดียวได้ ต้องทางานกันเป็นทีมเป็นกลุ่ม พบปะอยู่ร่วมกันกับคนหมู่มาก มีการเจรจาชี้แจงให้ ข้อมูลด้วยเหตุด้วยผล การเป็นนักสารวจจึงมิใช่แค่ประกอบอาชีพในงานสารวจเพื่อหาเงินมาเลี้ยงชีพเท่านั้น แต่ต้องร่วมกับกลุ่มบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องในการประกอบอาชีพทางด้านนี้ ที่จะต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน ดังนั้นการมีความรู้ ความชานาญและประสบการณ์ที่ได้พบเห็นมาจึงไม่เพียงพอที่จะเป็นนักสารวจที่ดีได้ สิ่งสาคัญและจาเป็นอย่างยิ่งคือต้องมีคุณลักษะหรือคุณสมบัติประจาตัวสาหรับนักสารวจควบคู่ไปด้วย ซึ่งนักสารวจที่ดีต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  • เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ จะต้องกระทาตัวให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เป็นคนที่มีคุณค่าต่อผู้อื่นเสมอ พูดจาสุภาพมีสัมมาคารวะ รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ช่วยเหลือผู้อื่น
  • เป็นผู้มีวินัย ตรงต่อเวลา มีความเที่ยงตรงในตนเองและส่วนรวม ยึดถือความยุติธรรมประจาใจ ประพฤติตนถูกต้องตามระเบียบของสังคม มีศีลธรรมอันดีงาม
  • เป็นผู้รับผิดชอบ ตั้งใจทางาน ทางานเป็นระเบียบเรียบร้อย มีมาตรฐาน ไม่ประมาทสะเพร่า ปฏิบัติงานตามหน้าที่ตนเอง ทางานเสร็จตามกาหนดเวลามีความปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่น
  • เป็นผู้มีความอดกลั้น มีสติ สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี เป็นคนสุขุมรอบครอบ ควบคุมกิริยามารยาทในสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้ เป็นคนมีอารมณ์ดีอยู่เสมอ
  • เป็นผู้มีความเชื่อมั่นในตัวเอง กล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง แสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล พูดความจริงยอมรับความเป็นจริงไม่นาผลงานของคนอื่นมาแอบอ้างเป็นของตนเอง
Powered by MakeWebEasy.com